EPR กับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

26 มิถุนายน 2567

EPR กับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
(ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
Extended Producer Responsibility หรือ EPR เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ผลิตที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยควบคุมวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ อย่างครบวงจร ตั้งแต่การเริ่มต้นคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดส่งกระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการบำบัด เพื่อให้เกิดเป็นกระบวนการที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือเกิดน้อยที่สุด
หลักการ EPR มีพื้นฐานคล้ายกับ “หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP)” โดยทั้ง 2 หลักการ เป็นแนวทางสำหรับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะและของเสียที่เกิดขึ้น จากการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยไม่มุ่งเน้นการลงโทษผู้ที่เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะหรือของเสีย แต่จะสนับสนุนผู้ที่มีศักยภาพการจัดการขยะและของเสียได้อย่างเหมาะสม ไม่สร้างภาระให้กับหน่วยงานภาครัฐและประชาชนมากเกินไป ซึ่งหลักการ EPR มี 2 ลักษณะ คือ Voluntary คือการที่ผู้ผลิตแสดงความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์จากปัญหาขยะโดยสมัครใจ และ Mandatory คือการที่ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์จากปัญหาขยะเพราะมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าให้ทำ
 
ความคิดเห็นของคุณ
*
*