พบวิธีใหม่ คืนชีพ ขยะพลาสติก เอากลับมาใช้ใหม่ง่ายขึ้น

4 กันยายน 2567
นักวิจัยจาก UC Berkeley ค้นพบวิธีในการรีไซเคิล ขยะพลาติก ใหม่ โดยทำเป็นไอและใช้มันสร้างพลาสติกใหม่ได้ วิธีดังกล่าวใช้ต้นทุนถูกมาก หากเทียบกับการรีไซเคิลทั่วไป
โดยนักวิจัย สามารถเปลี่ยนพลาสติกโพลีเอทิลีน (ถุงใช้ครั้งเดียว) และโพลีโพรพิลีน (พลาสติกแข็ง) ที่เป็นพลาสติกส่วนใหญ่ในกองขยะ ให้กลายเป็นโพรพิลีนและก๊าซไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีได้อีก
วิธีการคือ พวกเขาใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 2 ชนิด ซึ่งจะทำงานร่วมกันแบบเป็นขั้นตอนคือ
ตัวเร่งปฏิกิริยาตัวแรก ทำหน้าที่เหมือน “กรรไกรโมเลกุล” ตัดสายโซ่ยาวๆ ของพลาสติก (ซึ่งก็คือพอลิเมอร์) ให้กลายเป็นท่อนสั้น ๆ แต่ละท่อนจะมี “ปลายเปิด” ที่พร้อมทำปฏิกิริยาต่อ
ตัวเร่งปฏิกิริยาตัวที่สอง ทำหน้าที่คล้าย “ซิป” ที่ค่อย ๆ รูดสายโซ่พลาสติกที่ถูกตัดแล้วออกทีละโมเลกุล โดยอาศัยก๊าซเอทิลีนเป็นตัวช่วยดึงโมเลกุลออกจากกัน
ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการนี้คือโมเลกุลโพรพิลีนและโพรพีน ซึ่งเป็น “ชิ้นส่วน” สำคัญที่สามารถนำไปสร้างพลาสติกชนิดใหม่ๆ ได้อีก
นอกจากนี้ ยังได้ก๊าซไอโซบิวทิลีน เป็นผลพลอยได้ที่มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อผลิตวัสดุอื่น ๆ เช่น ยางสังเคราะห์ หรือแม้แต่น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน
ที่ผ่านมา การรีไซเคิลพลาสติกมีต้นทุนสูงกว่าการผลิตพลาสติกใหม่จากวัตถุดิบปิโตรเลียม ทำให้พลาสติกรีไซเคิลไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ และเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างยั่งยืน แต่วิธีดังกล่าว จะช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่พลาสติกไม่ต้องกลายเป็นขยะในหลุมฝังกลบอีกต่อไป ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น
 

ความคิดเห็นของคุณ
*
*