อุตสาหกรรมปิโตรเคมีผสานแนวคิด Circular Economy และ ESG เดินหน้าสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืน
อุตสาหกรรมปิโตรเคมียุคใหม่ นอกจากจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน คือ ประเด็น “ความยั่งยืน” (Sustainability) โดยเฉพาะการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดจากการออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทั่วโลกที่มีมากขึ้น
นโยบายเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ดังนั้นธุรกิจนี้จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนดังกล่าว โดยการนำแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) มาปรับใช้ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน เช่น ปรับใช้วัตถุดิบรีไซเคิล วัตถุดิบที่ง่ายต่อการรีไซเคิล ต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดปริมาณของเสีย ประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น และทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ รวมถึงการคัดแยกและรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ เพื่อนำทรัพยากรกลับเข้าสู่ระบบเพื่อหมุนวนกลับมาเป็นวัตถุดิบอีกครั้ง
Ellen MacArthur Foundation ให้ข้อมูลว่า มีการประมาณการว่าในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ.2593) ทั่วโลกจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5.1 หมื่นล้านตัน แต่หากใช้หลักการ Circular Economy จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 20% หรือ 1 หมื่นล้านตัน
Circularity Platform เพื่อ ซื้อ ขาย บริการ สำหรับวัสดุรีไซเคิล และ เศรษฐกิจหมุนเวียน